เมนู

จักขุธาตุ รูปอันน่าพอใจและจักขุวิญญาณ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี จักขุธาตุ รูปอัน
ไม่น่าพอใจและจักขุวิญญาณ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ
อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี จักขุธาตุ รูปอันเป็นที่ตั้ง
แห่งอุเบกขาและจักขุวิญญาณ อทุกขมสุขเวทนา ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่พรอทุกขมสุขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี โสตธาตุ . . .
ฆานธาตุ . . . ชิวหาธาตุ . . . กายธาตุ . . . มโนธาตุ ธรรมารมณ์อันน่าพอใจ
และมโนวิญญาณ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้ง
แห่งสุขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี มโนธาตุ ธรรมารมณ์อันไม่น่าพอใจ
และมโนวิญญาณ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่
ตั้งแห่งทุกขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี มโนธาตุ ธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้ง
แห่งอุเบกขาและมโนวิญญาณ อทุกขมสุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนคฤหบดี พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าได้ตรัสความต่างแห่งธาตุไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.
จบ โฆสิตสูตรที่ 6

อรรถกถาโฆสิตสูตรที่ 6


ในโฆสิตสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า รูปา จ มนาปา ได้แก่ รูปที่น่าชอบใจ มีอยู่. บทว่า
จกฺขุวิญฺญาณญฺจ ได้แก่ จักขุวิญญาณมีอยู่ บทว่า สุขเวทนิยํ ผสฺสํ
ได้แก่ ผัสสะ อันเป็นปัจจัย แก่สุขเวทนาอันสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณ